รัชกาลไทโช (ค.ศ. 1912–1926) ของ จักรวรรดิญี่ปุ่น

ดูบทความหลักที่: ยุคไทโช

เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

จักรพรรดิไทโช, จักรพรรดิญี่ปุ่น (รัชกาลที่ 123)จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเข้าร่วมอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1914 ในขณะที่มหาอำนาจยุโรปไม่สนใจเอเชียและกำลังติดพันกับสมรภูมิในยุโรป แต่ญี่ปุ่นกลับมองเห็นโอกาสดีจากสงครามในยุโรป ญี่ปุ่นถือโอกาสในการเบี่ยงเบนความสนใจของเยอรมนีกับสงครามยุโรปเพื่อขยายขอบเขตอิทธิพลของตนในจีนและเอเชียแปซิฟิกอย่างสะดวก

เนื่องจากเห็นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบในสงคราม ญี่ปุ่นจึงประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ญี่ปุ่นได้เป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิอังกฤษเข้าโจมตีเมืองชิงเต่าและอาณาบริเวณเยอรมันในเมืองจีน กองทัพผสมอังกฤษ-ญี่ปุ่นในไม่ช้าก็เข้าไปยึดป้อมปราการชิงเต่าซึ่งเป็นฐานบัญชาการดินแดนอาณานิคมตะวันออกของเยอรมัน (ดินแดนเขตเช่าเยอรมันบริเวณมณฑลซานตง) อีกทั้งญี่ปุ่นยังบุกหมู่เกาะต่างๆของเยอรมันที่เป็นดินแดนอาณานิคมเยอรมันในเอเชียอื่นๆ ประกอบด้วย หมู่เกาะมาเรียนา, หมู่เกาะแคโรไลนาและหมู่เกาะมาร์แชลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิวกินีของเยอรมัน

การบุกอย่างรวดเร็วในดินแดนเยอรมันบริเวณเขตเช่าสัมปทานอ่าวเกียวโจวและการล้อมเมืองชิงเต่า พิสูจน์ความสำเร็จของญี่ปุ่น กองทหารอาณานิคมของเยอรมันยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1915 และญี่ปุ่นได้ครอบครองดินแดนชิงเต่ารวมถึงอาณานิคมในแปซิฟิกทั้งหมดจากเยอรมัน

กองทัพญี่ปุ่นยึดสนามเพลาะจากเยอรมันในการปิดล้อมเมืองชิงเต่า

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจท่ามกลางสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป ด้วยพันธมิตรตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษมีส่วนร่วมอย่างมากในสงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงส่งกองทัพเรือเข้าช่วยเหลือส่งสินค้าให้ฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้ผลผลิตและการส่งออกของญี่ปุ่นทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติ ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศสัมพันธมิตรหลักที่ชนะสงครามได้เข้าร่วมถือสิทธิประโยชน์ในสนธิสัญญาแวร์ซาย นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้เป็นการยอมรับจากกบุ่มประเทศสัมพันธมิตรจัดให้เป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งในห้าชาติหลังสงคราม ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงเป็นยุคทองอีกยุคหนึ่งของญี่ปุ่นโดยที่ญี่ปุ่นไม่ต้องทุนอย่างมากและกลับได้ผลประโยชน์กลับมาที่ค่อนข้างสูง

นโยบายต่างประเทศด้านการรุกรานของญี่ปุ่นช่วงนี้ได้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นอย่างชัดเจนขึ้นหลังสงครามยุติเพียงไม่กี่ปี เมื่อญี่ปุ่นได้ถือโอกาสลอบเสนอข้อเรียกร้อง 21 ประการต่อรัฐบาลจีนเป่ยหยางของยฺเหวียน ชื่อไข่ เพื่อให้ญี่ปุ่นได้มีสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจเพื่อขูดรีดเอาผลประโยชน์ในดินแดนจีน ทำให้เกิดกระแสความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในหมู่ชาวจีน เมื่อการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลจีนเป็นอย่างเชื่องช้าและประนามและกดดันจากระดับนานาชาติทำให้ญี่ปุ่นยอมผ่อนปรนลดข้อเรียกร้องลง แต่ก็มีการลงนามสัญญาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 ส่วนสนธิสัญญาพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นได้รับการต่ออายุและขยายขอบเขตในสองเท่าในปี ค.ศ. 1905 และ ค.ศ. 1911 ก่อนที่จะสัญญาจะหมดอายุในปี ค.ศ. 1921 ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1923

การแทรกแซงไซบีเรีย

หลังจากการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ซาร์ในรัสเซียและระบอบการปกครองชั่วคราวในปี ค.ศ. 1917 พรรคบอลเชวิคได้ตั้งรัฐบาลใหม่ที่ได้ลงนามทำสัญญาสงบศึกแยกกับเยอรมนี หลังจากเหตุการณ์นี้ชาวรัสเซียได้สู้รบกันเองในสงครามกลางเมืองหลายฝ่าย

ภาพโฆษณาชวนเชื่อของญี่ปุ่นในช่วงการแทรกแซงสงครามกลางเมืองรัสเซียโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ปี ค.ศ. 1918–1920 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่วลาดีวอสตอค,ไซบีเรียกองพลญี่ปุ่นสวนสนามหลังยึดเมืองในไซบีเรีย

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นจัดหาทหาร 7,000 นายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรระหว่างประเทศจำนวน 25,000 นายวางแผนที่จะสนับสนุนกองกำลังรบนอกประเทศอเมริกันในไซบีเรีย นายกรัฐมนตรีมะซะทะเกะ เทะระอุจิตกลงที่จะส่งทหาร 12,000 นาย แต่มีเงื่อนไขที่จะต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของญี่ปุ่นแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรระหว่างประเทศ ญี่ปุ่นมีแรงจูงใจซ่อนเร้นหลายอย่างสำหรับการส่งทหารเข้าร่วมดังกล่วซึ่งรวมถึงการเป็นศัตรูที่รุนแรงและความกลัวต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ ความมุ่งมั่นที่จะชดใช้ความเสียหายในอดีตให้กับรัสเซีย และความปรารถนาที่จะสร้าง "ปัญหาทางเหนือ" ในการรักษาความปลอดภัยของญี่ปุ่นไม่ว่าจะโดยการสร้างสถานะรัฐกันชนหรือผ่านการได้มาซึ่งดินแดนทันที

ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1918 กองทัพญี่ปุ่นกว่า 70,000 นายภายใต้เสนาธิการยูอิ มิตซึเอะได้บุกเข้าครอบครองท่าเรือและเมืองใหญ่ๆ ทั้งหมดในจังหวัดทางทะเลของรัสเซียและตะวันออก ของไซบีเรีย[24][25]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1920 มีพลเรือนญี่ปุ่นประมาณ 450 คนและทหารญี่ปุ่น 350 นายพร้อมด้วยผู้สนับสนุนกองทัพสีขาวของรัสเซียถูกสังหารหมู่โดยกองกำลังพลที่เกี่ยวข้องกับ กองทัพแดงที่นิโคเลฟสค์บนแม่น้ำอามูร์ สหรัฐฯและพันธมิตรจึงถอนตัวออกจากวลาดิวอสต็อกหลังจากการจับกุมและการประหารชีวิตของผู้นำกองทัพขาวพลเรือเอกอเล็กซานเดอร์ โคลแชคโดยกองทัพแดง อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะคงกำลังทหารประจำการไว้อยู่ส่วนใหญ่เนื่องจากความหวาดกลัวการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นและอาณานิคมเกาหลีของญี่ปุ่นและแมนจูเรีย กองทัพญี่ปุ่นให้การสนับสนุนทางทหารแก่ รัฐบาลชั่วคราวเปรียมูร์เยซึ่งเป็นรัฐบาลที่นิยมญี่ปุ่นในเมืองวลาดิวอสต็อกให้ต่อต้านสาธารณรัฐตะวันออกไกลซึ่งได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลบอลเชวิคในกรุงมอสโก

การมีส่วนร่วมของญี่ปุ่นในการรบอย่างต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกาซึ่งสงสัยว่าญี่ปุ่นมีการออกแบบดินแดนในไซบีเรียและรัสเซียตะวันออกไกล ภายใต้แรงกดดันทางการทูตอย่างรุนแรงจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษและเผชิญหน้ากับความขัดแย้งภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนทางเศรษฐกิจและส่งคนออกไปรบนอกประเทศของนายกรัฐมนตรี โทะโมะ ซะบุโรคะโตจึงตัดสินใจถอนกำลังทหารญี่ปุ่นออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1922 มีผู้เสียชีวิต 5,000 รายจากการต่อสู้หรือเจ็บป่วย ด้วยค่าใช้จ่ายในเข้าร่วมรบกว่า 900 ล้านเยน

"ประชาธิปไตยไทโช"

ใกล้เคียง

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิมองโกล จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมัน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล: เฟสสอง จักรวรรดิรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรวรรดิญี่ปุ่น http://www.boston.com/news/nation/washington/artic... http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/03... http://findarticles.com/p/articles/mi_qa3693/is_20... http://news.naver.com/news/read.php?mode=LSD&offic... http://history.hanover.edu/texts/1889con.html http://www.mofa.go.jp/mofaj/annai/honsho/shiryo/qa... http://www.city.tsuruga.lg.jp/sypher/free/kk-museu... http://www.comfort-women.org/ https://books.google.com/books/about/A_History_of_... https://books.google.com/books?id=4N0oXNN7dcoC&pg=...